Thursday, May 1, 2014

อาชีพหลักที่สำคัญ

อาหารเสริม

อาหารเสริม ตัวอย่าง
อาชีพหลักที่สำคัญ // อาหารเสริม
        สันนิษฐานว่าประชาชนในครั้งนั้น ประกอบอาชีพทำนา (กสิกรรม) เป็นอาชีพหลัก โดยอ้างหลักฐานคือ
๑.       พระนามของพระราชโอรสทั้ง ๕ พระองค์ ของพระเจ้าสีหหนุ (ปู่ของพระพุทธเจ้า) มีพระนามลงท้ายด้วยคำว่า โอทนะ ซึ่งแปลว่า ข้าวสุก เช่น สุทโธทนะ (สุทธะ+โอทนะ) || อาหารเสริม
๒.     มีเรื่องเล่าอยู่ว่า ปีหนึ่งเมื่อฝนแล้ง พวกศากยวงศ์ และโกลิยวงศ์ เกือบรบพุ่งกัน เพราะแย่งกันทดน้ำเข้านา :: อาหารเสริม
๓.      คราวหนึ่งในพิธีวัปปมงคลแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะ(บิดาของพระพุทธเจ้า) ทรงออกแรกนาด้วยพระองค์เอง
๔.      พระมหานามศากยะ (ลูกพี่ลูกน้องของพระพุทธเจ้า) ทรงสอนพระอนุรุทธศากยะผู้เป็นอนุชา เรื่องการงานของผู้ครองเรือน ก็ได้ทรงยกการทำนาขึ้นเป็นตัวอย่าง // อาหารเสริม
๕.      แม้พระศาสดาเอง ในการตรัสสอนเรื่องประโยชน์ฆราวาส ก็ทรงยกให้ข้าวเป็นทรัพย์ใหญ่ \\ อาหารเสริม

พระโคตรของศากยวงศ์ !! อาหารเสริม
        เมื่อครั้งพระศาสดาทรงผนวชใหม่ ๆ ได้ถูกพระเจ้าพิมพิสารตรัสถาม พระพุทธองค์ทรงตอบว่า เสด็จออกจากสกุลที่เรียกว่า ศากยะ โดยชาติ และชื่อว่า อาทิตย์ โดยโคตร (อาทิตยโคตร)

วงศ์ตระกูลของพระศาสดา
        พระเจ้าชัยเสน ทรงเป็นทวด พระเจ้าสีหหนุ เป็นปู่ พระนางกัญจนา(แห่งกรุงเทวทหะ) เป็นย่า มีพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระบิดา พระนางสิริมหามายา เป็นพระมารดา พระนางปชาบดีโคตมี เป็นน้า(น้องของพระนางมายา) มีพระนันทะ(โอรส) และรูปนันทา(ธิดา) เป็นพี่น้องต่างมารดา(ทั้ง ๒ เป็นราชบุตรที่เกิดจากพระนางปชาบดีโคตมี สมรสกับพระเจ้าสุทโธทนะ)

ความเกี่ยวเนื่องกันแห่งศากยวงศ์และโกลิยวงศ์
        ศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ และโกลิยวงศ์ แห่งกรุงเทวทหะ มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างยิ่ง นับแต่พระเชษฐภคินี (พี่สาวใหญ่) ของพระโอรสทั้ง ๔ ของพระเจ้าโอกกากราช ทรงอภิเษกกับกษัตริย์กรุงเทวทหะ เรื่อยมาจนถึง พระเจ้าชัยเสน(ปู่)อภิเษกกับ พระนางกัญจนา(ย่า) แห่งโกลิยวงศ์ และพระเจ้าสุทโธทนะ(พระบิดา) อภิเษกกับ พระนางสิริมหามายา(พระมารดา) แห่งโกลิยวงศ์  จวบจนถึงเจ้าชายสิทธัตถะ แห่งศากยวงศ์ อภิเษกกับพระนางยโสธรา หรือพิมพา แห่งโกลิยวงศ์

ปริเฉทที่ ๓  พระศาสดาประสูติ
ตำรามหาบุรุษลักษณะ
        ก่อนพุทธศักราชราว ๑,๐๐๐ ปี พวกพราหมณ์ได้พากันแต่งตำราทำนายลักษณะมหาบุรุษไว้ต่าง ๆ กัน แต่เมื่อนำมาเทียบดูแล้ว ตำราเหล่านั้นมีลักษณะเหมือนกันอยู่  ๒ ประการ คือ ๑. มหาบุรุษนั้น หากอยู่ครองเพศฆราวาส จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต และ ๒. หากออกบวช จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก

สาเหตุที่พระโอรสประสูติ ณ อุทยานลุมพินีวัน
        วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (อาสาฬหมาส) ปีระกา ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี กับอีก ๑๐ เดือน พระโพธิสัตว์ผู้มีบุญ ได้จุติลงมาเกิดในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายา  และในรุ่งเช้า ของวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วิสาขมาส) ปีจอ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี พระศาสดาก็ทรงประสูติ ณ อุทยานลุมพินีวัน กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสันนิษฐานเหตุที่ทรงประสูติ ณ ที่นั้นว่า
๑.       พระนางมายา ทรงเสด็จประพาสอุทยานลุมพินีวัน ขณะพระครรภ์ใกล้คลอด พระพุทธองค์จึงทรงประสูติ ณ ที่นั้น
๒.     ตามประเพณีพราหมณ์ ฝ่ายหญิงจะกลับไปคลอดบุตร ณ บ้านเกิดของตน พระนางฯ จึงทรงเสด็จกลับกรุงเทวทหะ แต่ระหว่างทาง  ทรงเจ็บพระครรภ์เสียก่อน พระศาสดาจึงทรงประสูติ ณ ที่นั้น ภายใต้ร่มไม้สาละ เวลาใกล้เที่ยงวันเดียวกันนั้นเอง

สหชาติ ๗
        สิ่ง หรือบุคคล ซึ่งเกิดร่วมในวันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า เรียกว่า สหชาติ ได้แก่
๑.       พระนางพิมพา (พระมเหสี)
๒.     พระอานนท์ (พระพุทธอนุชาลูกพี่ลูกน้อง และพระพุทธอุปัฏฐากผู้ดูแลปรนนิบัติพระพุทธเจ้า)
๓.      ฉันนะอำมาตย์ (ต่อมาบวชเป็นพระฉันนะ  เป็นผู้ใกล้ชิดติดตามพระพุทธองค์ก่อนออกผนวช)
๔.      กาฬุทายีอำมาตย์
๕.      กัณฐกอัศวราช ม้าพระที่นั่ง
๖.       ต้นพระศรีมหาโพธิ์
๗.      ขุมทรัพย์ทั้ง ๔  (สังขนิธิ, เอลนิธิ, อุบลนิธิ, บุญฑริกนิธิ)

อภินิหาร ๗ ประการ
๑.       พระมารดาทรงสุบินนิมิต(ฝัน) เห็นพญาช้างเผือก
๒.     ขณะอยู่ในพระครรภ์ ทรงอยู่ในท่านั่งขัดสมาธิ และคลอดขณะพระมารดาประทับยืน โดยทั้ง ๒ พระองค์มิได้แปดเปื้อนครรภ์มลทินเลย
๓.      ขณะประสูติ มีเทวดามาคอยรับ
๔.      มีท่อน้ำร้อน ไหลจากอากาศมาสนานทั้ง ๒ พระองค์
๕.      มีท่อน้ำเย็น ไหลจากอากาศมาสนานทั้ง ๒ พระองค์
๖.       เมื่อประสูติแล้ว ทรงดำเนินไปได้ ๗ ก้าว
๗.      เมื่อทรงดำเนินถึง ๗ ก้าวแล้ว ทรงเปล่งอาสภิวาจา (ประกาศตนว่าเป็นเอกในโลก) ความว่า ในโลกนี้ เราเป็นหนึ่ง เราเป็นยอด เราเป็นเลิศประเสริฐที่สุด การเกิดครั้งนี้ของเรา เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ต่อไปอีกไม่มีสำหรับเรา

 add อาหารเสริมราคาส่ง ราคาถูก

ถอดใจความแห่งอภินิหาร
๑.       แสดงถึงการอุบัติขึ้นแห่งบุคคลสำคัญ
๒.     แสดงถึงว่าที่ทรงออกบรรพชาเพราะมุ่งหาโมกขธรรม มิใช่อัตคัดขัดสนในเพศฆราวาส
๓.      แสดงถึงการที่อาฬารดาบส และอุททกดาบส รับไว้เป็นศิษย์ในสำนัก
๔.      แสดงถึงการที่พระองค์ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
๕.      แสดงถึงการที่พระองค์บำเพ็ญเพียรทางจิต จนสิ้นความสงสัยว่าทางมิใช่ทาง
๖.       แสดงถึงการที่ทรงประกาศพระศาสนาได้ ๗ ชนบท คือ ๑.กาสีกับโกศล ๒.มคธกับอังคะ ๓.สักกะ ๔.วัชชี ๕.มัลละ ๖.วังสะ ๗.กุรุ
๗.      แสดงถึงเมื่อทรงตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงธรรมให้ผู้ฟังหยั่งทราบได้ว่าพระองค์ทรงปราชญ์เพียงไร

อสิตดาบสเข้าเยี่ยม
        เมื่อทรงประสูติได้ ๓ วัน  อสิตดาบส หรืออีกชื่อหนึ่งคือ กาฬเทวิลดาบส ซึ่งเป็นที่นับถือของพระเจ้าสุทโธทนะ และราชวงศ์  ได้ทราบการประสูติ ก็รุดเข้าเยี่ยม เมื่อได้เห็นพระลักษณะ อสิตดาบส กลับเป็นฝ่ายทรุดตัวลงกราบ(อภิวาท)แทบพระบาทของพระโอรส แล้วทำนายพุทธลักษณะว่าต้องตามตำรามหาบุรุษลักษณะทั้ง ๒ ประการนั้น  และกาลนี้พระบิดาก็ทรงนมัสการ(ไหว้)พระโอรสตามอสิตดาบสด้วย นับเป็นคราที่ ๑

ราชตระกูลเลื่อมใสมากขึ้น
        เมื่อสมาชิกราชวงศ์เห็นอสิตดาบส ซึ่งเป็นผู้ที่ราชวงศ์นับถือ ถวายอภิวาทพระพุทธองค์ ก็เกิดความเลื่อมใส พากันถวายพระโอรสของตน ให้เป็นบริวารของพระพุทธองค์

ขนานพระนาม
        เมื่อทรงประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ ท่านมาฉันโภชนาหาร แล้วคัดเหลือเพียง ๘ ท่าน เฉพาะที่ชำนาญในไตรเพทยิ่งกว่าใคร  แล้วให้นั่งบนอาสนะสูงเพื่อทำนายลักษณะของพระโอรส พราหมณ์ ๗ ท่าน ยกเว้น โกณฑัญญะพราหมณ์ ต่างชู ๒ นิ้ว แล้วทำนายพุทธลักษณะเป็น ๒ อย่างตามตำรามหาบุรุษลักษณะนั้น มีเพียงโกณฑัญญะพราหมณ์ที่ชูนิ้วเดียว แล้วทำนายว่าพระองค์จะทรงออกบวชได้เป็นศาสดาเอกแน่นอน  หลังจากนั้นก็พากันขนานพระนามว่า สิทธัตถะ ซึ่งแปลว่า ผู้สำเร็จตามที่ต้องการ คือสมประสงค์จะต้องการอะไรได้หมด

พระมารดาสวรรคต
        เมื่อทรงประสูติได้ ๗ วัน  พระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระมารดา ก็ทรงเสด็จสวรรคต เนื่องจากเมื่อพระครรภ์ของพระนางฯ ได้ให้กำเนิดพระโพธิสัตว์ผู้มีบุญแล้ว ก็มิควรให้กำเนิดแก่สัตว์ใดอีก และหลังจากนั้น พระเจ้าสุทโธทนะก็ทรงอภิเษกใหม่กับพระมาตุจฉา(น้า)คือพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็น พระขนิษฐภคินี(น้องสาว)ของพระนางมายา และมีพระโอรส พระธิดา กับพระนางฯ อีก ๒ องค์ คือ พระนันทะ กับ รูปนันทา แล้วรับหน้าที่เลี้ยงดูพระพุทธองค์ต่อมา

ได้ปฐมฌาน และทรงศึกษาศิลปวิทยา
        เมื่อเวลาผ่านไป จนพระชนมายุได้ ๗ พรรษา  วันหนึ่งในพิธีวัปปมงคลแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะทรงออกแรกนา โดยนำพระโอรสตามเสด็จด้วย โดยให้ประทับใต้ต้นหว้า เมื่อได้ความเงียบสงัด พระโอรสทรงนั่งในท่าขัดสมาธิ แล้วเกิดสิ่งมหัศจรรย์ คือ แม้ตะวันจะคล้อยไปแล้ว แต่ร่มแห่งไม้หว้ายังคงตั้งตรงปกป้องพระวรกายมิให้ต้องแสงแดด เมื่อพระบิดาได้ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็เกิดความเลื่อมใส ถวายอภิวาท(กราบ) พระโอรสเป็นคราที่ ๒  หลังจากนั้นไม่นานนัก พระบิดาก็ทรงให้ร่ำเรียนศิลปวิทยา โดยมอบไว้ยังสำนักท่านราชครูวิศวามิตร

ทรงอภิเษกสมรส
        เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระบิดาทรงเห็นว่าควรมีคู่ครองได้แล้ว จึงทรงสู่ขอพระนางยโสธรา หรือพิมพา ธิดากษัตริย์แห่งกรุงเทวทหะ พร้อมทั้งสร้างปราสาท ๓ ฤดู เพื่อผูกมัดใจพระโอรสให้ครองฆราวาสเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช

ปริเฉทที่ ๔  เสด็จออกบรรพชา
สาเหตุที่เสด็จออกบรรพชา
        เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ก็ทรงออกบวช โดยสันนิษฐานไว้ ๒ นัย คือ
๑.       นัยแรก คือทรงปรารภเทวทูตทั้ง ๔ ที่เทวดานิมิตให้ทรงทอดพระเนตร เป็นเหตุ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จนพระองค์เกิดความสลดหดหู่ แต่ทรงพอพระทัยเลื่อมใสเมื่อเห็นสมณะ  จึงทรงคิดอยากหลุดพ้น ด้วยการออกบวช ในวันนั้น พระนางยโสธรา ทรงประสูติพระโอรส ทรงดีพระทัยมาก แต่เมื่อคิดถึงการออกบวช ก็ทรงเห็นว่าพระโอรสนั้นเป็นบ่วงอีกอันที่คล้องเกี่ยวไม่ให้พระองค์บวชได้ จึงทรงเปล่งอุทานว่า ราหุลํ ชาตํ แปลว่า บ่วงเกิดแล้ว ครั้นถึงกลางคืน ทรงให้ฉันนะอำมาตย์ นำม้ากัณฐกะพาพระองค์ออกหนีจากพระนครไป
๒.     นัยที่สอง คือทรงปรารภ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นเหตุ คือ วันหนึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นมาเองว่า คนทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว ล้วนต้องแก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา จึงทรงคิดหาอุบายที่จะพ้นจากทุกข์ทั้ง ๓ นี้ ซึ่งเป็นการยากหากยังอยู่ในเพศฆราวาส จึงทรงออกบวช

เวลาที่เสด็จออกบรรพชา
        เมื่อสาเหตุที่ทรงออกบวชขัดแย้งกัน  เวลาที่ทรงออกบวชก็ย่อมขัดแย้งกันแน่นอน กล่าวคือ
๑.       นัยแรก กล่าวว่า พระองค์ทรงเสด็จออกฯ ในเวลากลางคืน เทียบได้กับการออกบวชของพระยสเถรสาวก
๒.     นัยที่สอง กล่าวว่า ทรงเสด็จออกซึ่งหน้า ขณะพระบิดา พระมารดา กำลังกันแสง เทียบได้กับการออกบวชของพระรัฏฐปาลเถรสาวก

เหตุใดจึงไม่ถูกขัดขวาง หรือถูกติดตาม
๑.       นัยแรก คือ เพราะทรงเสด็จออกฯ ในเวลากลางคืนจึงไม่มีผู้ใดขัดขวาง คือทรงตรัสให้นายฉันนะนำม้ากัณฐกะ พาพระองค์เสด็จถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงปลงพระเมาลีเหลือยาวประมาณ ๒ องคุลี ขณะนั้น ฆฏิการพรหม ได้น้อมถวายผ้ากาสาวะ หรือกาสายะ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้ มีสีเหลืองหม่น) สำหรับทรงนุ่งผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง ครั้นทรงนุ่งห่มแล้ว ก็ทรงอธิษฐานเพศบรรพชิต ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานั้น แล้วรับสั่งให้นายฉันนะนำม้าฯ กลับไปทูลให้พระบิดา พระมารดาทรงทราบ
๒.     นัยที่สอง คือทรงเสด็จออกฯ ซึ่งหน้า ขณะพระบิดา พระมารดา ทรงกันแสงอยู่นั้น ทรงปลงพระเมาลี และมัสสุทิ้งเสียสิ้น (โกนนั่นเอง) แล้วทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ซึ่งได้เตรียมไว้ก่อนแล้ว แล้วทรงอธิษฐานเพศบรรพชิต ณ ที่นั้น ทั้งนี้เพื่อให้พระบิดา พระมารดา ทรงตัดพระทัยจากพระองค์ เพราะสมัยนั้น การโกนหัว ถือเป็นเรื่องอัปรีย์จัญไร เป็นที่รังเกียจดูหมิ่นของคนทั่วไป

ADV ขายอาหารเสริม 


สันนิษฐานพระเมาลี
๑.       ตามนัยแรก คือสันนิษฐานว่า ทรงปลงพระเมาลีด้วยพระขรรค์คราวเดียวเท่านั้น จนพระเมาลีเหลือยาวประมาณ ๒ องคุลี แล้วทรงเกล้าไว้ คือม้วนกลมเป็นทักษิณาวรรต ตั้งอยู่เท่านั้นไม่ยาวขึ้นอีก จวบจนปรินิพพาน ซึ่งข้อนี้เป็นไปได้มาก เพราะสังเกตุจากลักษณะพระพุทธรูป ที่พระเมาลีดูสูง เหมือนเกล้าไว้
๒.     ตามนัยที่สอง คือ ทรงโกนพระเมาลีและมัสสุทิ้งเสียสิ้น  ซึ่งข้อนี้ก็เป็นไปได้มากอีกเช่นกัน เพราะในพระวินัย มีเรื่องเล่าว่า พระนันทะพุทธอนุชา(พี่น้องต่างพระมารดา) มีลักษณะคล้ายพระพุทธเจ้ามาก แต่ต่ำกว่า ๔ นิ้ว ขณะเดินมาแต่ไกล พวกภิกษุเข้าใจว่าเป็นพระพุทธองค์ จึงพากันลุกขึ้นยืนรับ แต่พอเข้ามาใกล้ กลับเป็นพระนันทะ
        แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง ๒ นัย มีเรื่องหนึ่งที่พอสรุปความได้คือ พระพุทธองค์ไม่เคยทรงปล่อยให้พระเมาลียาวเกิน ๒ นิ้วอีกเลย ตลอดพระชนมายุ ซึ่งตรงกับพระวินัยที่ ไม่ให้ไว้ผมยาวเกิน ๒ นิ้ว หรือนานเกิน ๒ เดือน

เครื่องบริขาร (อัฐบริขาร)
        เครื่องบริขาร หรือเครื่องใช้สอยในเพศบรรพชิตของพระพุทธองค์นั้นเดิมทีมีเพียง ๓ อย่าง คือ บาตร สบง จีวร  แต่ภายหลังได้เพิ่มอีก ๕ อย่าง รวมเป็น ๘ อย่าง เรียกว่า อัฐบริขาร คือ
๑.       สบง  (อันตรวาสก หรือผ้านุ่ง)
๒.     จีวร  (อุตตราสงค์ หรือผ้าห่ม)
๓.      สังฆาฏิ  (ผ้าคลุม)
๔.      ประคดเอว
๕.      บาตร
๖.       มีดโกน
๗.      เข็ม (เย็บผ้า)
๘.      กระบอกกรองน้ำ (ธมกรก) 

ปริเฉทที่ ๕  ตรัสรู้
ศึกษากับปรมาจารย์สองดาบส
        ๗ วันแรก หลังเสด็จออกบรรพชา ทรงเสวยบรรพชาสุข อยู่ ณ สวนมะม่วงแห่งหนึ่ง ในรัฐมัลละ เรียกว่า อนุปิยอัมพวัน เขตอนุปิยนิคม รัฐมัลละ  หลังจากนั้นทรงเสด็จผ่านกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นกษัตริย์ ได้เห็นพุทธลักษณะอันสง่างาม ก็เกิดความเลื่อมใส ตรัสเชิญพระพุทธองค์ให้ครองราชสมบัติ ซึ่งพระองค์จะทรงแบ่งให้ส่วนหนึ่ง แต่พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ โดยทรงตรัสกลับไปว่า ที่ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ก็เพื่อมุ่งมั่นต่อสัพพัญญุตญาณ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงอนุโมทนา แล้วตรัสขอปฏิญญาจากพระพุทธองค์ว่า หากทรงตรัสรู้แล้ว ขอทรงเสด็จกลับมาโปรดด้วย ซึ่งก็ทรงรับปฏิญญา จากนั้นก็เสด็จสู่สำนักของอาฬารดาบสกาลามโคตร ทรงร่ำเรียนจนสำเร็จสมาบัติ ๗ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ จนสิ้นความรู้ของพระอาจารย์ จากนั้นก็เสด็จต่อไปยังสำนักของอุททกดาบสรามบุตร ทรงศึกษาจนสำเร็จสมาบัติ ๘ หลังจากนั้น ก็ทรงเสด็จต่อไป เมื่อถึงยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงเห็นว่าเป็นสถานที่สงบราบรื่น เหมาะที่จะบำเพ็ญเพียร จึงทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้น

กำเนิดปัญจวัคคีย์
        กล่าวถึง โกณฑัญญะพราหมณ์ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๘ พราหมณ์ ที่เคยทำนายพุทธลักษณะ ซึ่งบัดนี้ได้แก่ลงไปแล้ว เมื่อทราบว่าพระพุทธองค์ทรงเสด็จออกผนวช ก็คิดจะชวนบุตรของพราหมณ์อีก ๗ คนนั้น ซึ่งบิดาได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว เพื่อออกบวชตาม แต่มีบุตรของพราหมณ์ เพียง ๔ คนเท่านั้นที่ยอมออกบวช คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ รวมกับ โกณฑัญญะพราหมณ์ เป็น ๕  เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ แปลว่า มีพวก ๕  หลังจากบวชแล้ว ก็ออกตามหาพระพุทธองค์ จนได้พบพระองค์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม นั้น จึงเข้าไปถวายอภิวาทขอฝากตัว แล้วอยู่ปรนนิบัติอุปัฏฐากพระองค์เรื่อยมา

ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
        การประพฤติพรตบำเพ็ญเพียร ซึ่งเป็นที่นิยมในครั้งนั้น ตามคติของพราหมณ์ ก็คือวิธีอัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งยากที่คนทั่วไปจะทำได้  ซึ่งก็ทรงทำอยู่ถึง ๓ วาระด้วยกัน คือ
๑.       ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยพระชิวหาไว้แน่น จนพระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะ ได้รับทุกขเวทนาอย่างยิ่ง แต่ก็ยังไม่ตรัสรู้ จึงทรงเปลี่ยนวิธีต่อไป
๒.     ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ เรียกว่า อปาณกฌาน คือความเพ่งไม่มีปราณ คือกลั้นลมหายใจ เมื่อลมผ่านช่องพระนาสิก (จมูก) และช่องพระโอษฐ์ (ปาก) ไม่ได้สะดวก ก็เกิดเสียงอู้ทางช่องพระกรรณ (หู) ทั้ง ๒ ข้าง ได้รับทุกขเวทนาอย่างยิ่ง แต่ก็ยังไม่ตรัสรู้ จึงทรงเปลี่ยนวิธีต่อไป
๓.      ทรงอดพระกระยาหาร คือเสวยวันละน้อย ๆ บ้าง เสวยอาหารละเอียดบ้าง จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง พระอัฐิปรากฏทั่วพระวรกาย เมื่อลูบพระโลมาก็หลุดร่วง เดินไปทางไหนก็ซวนล้ม แต่ก็ยังไม่ตรัสรู้อีก

อุปมา ๓ ข้อปรากฏ
        นับแต่ทรงเริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยา จนเข้าปีที่ ๖ แล้ว ก็ยังไม่ทรงตรัสรู้ หรือบรรลุธรรมวิเศษใด ๆ จวบจนอุปมา ๓ ข้อปรากฏในพระทัย คือ
๑.       สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด มีกาย และใจยังไม่หลีกออกจากกาม แม้จะทรมานร่างกายให้ได้รับทุกขเวทนาสักปานใดก็ตาม ก็มิอาจตรัสรู้ได้ เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำ มิอาจสีให้เกิดไฟได้
๒.     สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด มีกายออกจากกามแล้ว แต่ใจยังกำหนัดยินดีอยู่ในกาม ถึงจะทรมานร่างกายสักปานใดก็ตาม ก็มิอาจตรัสรู้ได้เช่นกัน เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยาง แม้อยู่บนบก ก็มิอาจสีให้เกิดไฟได้
๓.      สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด มีกาย และใจ ออกจากกามแล้ว แม้จะทรมานร่างกายหรือไม่ ก็ตาม ก็สามารถตรัสรู้ได้ เหมือนไม้แห้ง อยู่บนบก ย่อมสีให้เกิดไฟได้
        แต่นั้นมา เมื่อทรงได้สติดังนี้แล้ว ก็ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาเสวยอาหารตามเดิม เพื่อให้พระวรกายกลับมาแข็งแรงเสียก่อน แล้วบำเพ็ญเพียรทางจิต เหมือนกับที่ทรงเคยได้ปฐมฌาน เพื่อให้ทรงตรัสรู้ต่อไป

ปัญจวัคคีย์หลีกหนี
        เมื่อปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เห็นพระพุทธองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาเสวยอาหารตามเดิม ก็คิดว่าทรงคลายอุตสาหะ และมิอาจตรัสรู้ได้ต่อไป จึงพากันเลิกปรนนิบัติ แล้วหลีกหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี รัฐกาสี  ซึ่งการที่ปัญจวัคคีย์มาอยู่ปรนนิบัติพระองค์ในเบื้องแรก แล้วพากันหลีกหนีในท้ายที่สุดนั้น เป็นผลดีกับพระองค์ ๒ ประการ คือ
๑.       ปัญจวัคคีย์เหล่านั้น สามารถเป็นพยานการตรัสรู้ของพระองค์ได้ว่า มิได้เกิดจากการบำเพ็ญอัตตกิลมถานุโยค ซึ่งจะเป็นการง่ายต่อพระองค์ที่จะทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้เชื่อในพระองค์ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับการบำเพ็ญอัตตกิลมถานุโยค ทรมานตนด้วยวิธีต่าง ๆ เพราะพระองค์ทรงลองแล้ว และไม่สำเร็จแต่ประการใด
๒.     การหลีกหนีไปของปัญจวัคคีย์ ทำให้เกิดความเงียบสงบในพระองค์ ไม่มีสิ่งภายนอกมารบกวน ช่วยเอื้ออำนวยต่อการบำเพ็ญเพียรทางจิต เพื่อการตรัสรู้

ตรัสรู้ (เกิดใหม่อีกครั้ง)
        เมื่อพระวรกายกลับมาแข็งแรงดีแล้ว ก็ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป จนทรงตรัสรู้ในที่สุดแห่งยามสุดท้าย ของวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศก ๔๕ ปี เป็นการเกิดใหม่ครั้งที่ ๒ ของพระองค์ เรียกว่า ธรรมกายอุบัติ คือเกิดด้วยธรรมกาย  โดยในรุ่งเช้าของวันที่ทรงตรัสรู้นี้ นางสุชาดา ธิดาของคหบดีในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้น้อมถวาย ข้าวมธุปายาส อันประณีตด้วยเครื่องปรุงทุกประการ ใส่ลงในถาดทอง แล้วปิดครอบด้วยถาดทองอีกใบ ถวายต่อพระองค์ เพราะเข้าใจว่าทรงเป็นรุกขเทวดาที่ดลบันดาลให้นางได้คู่ครองที่มีตระกูลสมกัน และได้บุตรคนแรกเป็นชาย ซึ่งพระองค์ก็ทรงรับไว้ หลังจากทรงเสร็จจากสรงน้ำ ก็เสด็จกลับขึ้นมาเสวยจนหมด แล้วทรงลอยถาด พร้อมกับทรงอธิษฐานว่า หากจะได้ทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนน้ำขึ้นไป ซึ่งถาดก็ลอยทวนน้ำจริง จึงทรงมั่นพระทัยว่าจะได้ทรงตรัสรู้แน่นอน จากนั้นทรงเสด็จยัง สาลวัน (ป่าไม้สาละ) ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา จนตะวันบ่ายคล้อย ก็ทรงเสด็จกลับยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างทาง โสตถิยพราหมณ์ เห็นพระองค์แล้วเกิดความเลื่อมใส น้อมถวายหญ้าคาที่หาบมา ต่อพระองค์ ๘ กำ ซึ่งทรงนำมาลาดเป็นบัลลังก์ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พร้อมกับทรงตั้งจิตอธิษฐาน (จาตุรงคมหาปธาน) ว่า จะไม่ทรงลุกขึ้นจากที่นี้ ตราบใดที่ยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ แม้ว่าเลือดและเนื้อจะเหือดแห้งไปก็ตามที  ขณะนั้น มาร คือกิเลส (กิเลสมาร) เข้ามาเที่ยวอยู่ในพระทัยของพระองค์ ให้หวนระลึกถึงกามสุขครั้งอยู่ในเพศฆราวาส ซึ่งก็ทรงเอาชนะด้วย พระบารมี ๑๐ ทัศ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วีริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา จนทรงบรรลุฌาน ๔ และบรรลุญาณ ๓ ตามลำดับ คือ
๑.       ในปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือทรงระลึกชาติได้
๒.     ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ หรือทิพจักขุญาณ คือทรงเห็นการจุติ และการเกิดของมวลสัตว์โลกได้
๓.      ในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือทรงรู้เหตุสิ้นไปแห่งอาสวะเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้ขันธ์ พร้อมทั้งอาการอันเป็นเหตุเป็นผลสืบเนื่องติดต่อกันไป เหมือนลูกโซ่คล้องเกี่ยวกันเป็นสาย เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท คือทรงรู้อริยสัจ ๔ นั่นเอง  

ดังนั้น ที่ว่าทรงตรัสรู้ ก็คือทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค นั่นเอง 

Monday, April 28, 2014

คิ หิ ป ฏิ บั ติ (ข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์)

คิ หิ ป ฏิ บั ติ (ข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์)
ขายอาหารเสริม

กรรมกิเลส ๔ // อาหารเสริม
๑.      ปาณาติบาต  (ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง)
๒.    อทินนาทาน  (ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ฯ)
๓.     กาเมสุมิจฉาจาร  (ประพฤติผิดในกาม)
๔.     มุสาวาท  (พูดเท็จ)
อธิบาย  กรรม คือ การกระทำเครื่องเศร้าหมอง หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง เรียกว่า กรรมกิเลส

อบายมุข ๔ :: อาหารเสริม
๑.      ความเป็นนักเลงหญิง
๒.    ความเป็นนักเลงสุรา
๓.     ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน
๔.     ความคบคนชั่วเป็นมิตร
อธิบาย  ปากทางแห่งความฉิบหาย หรือเหตุที่ทำให้โภคทรัพย์ฉิบหาย เรียกว่า อบายมุข โดยย่อมีอยู่ ๔ || อาหารเสริม

โทษของความเป็นนักเลงหญิง ๕
๑.   ชื่อว่าไม่รักตัว
๒.  ชื่อว่าไม่รักลูกเมีย
๓.  ไม่เป็นที่วางใจของคนทั้งหลาย
๔.   ก่อการทะเลาะวิวาท
๕.   นำความฉิบหายมาให้

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔
๑.      อุฏฐานสัมปทา  (ถึงพร้อมด้วยความหมั่น)
๒.    อารักขสัมปทา  (ถึงพร้อมด้วยการรักษา)
๓.     กัลยาณมิตตตา  (ความคบคนดีเป็นมิตร)
๔.     สมชีวิตา  (ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร)
อธิบาย  ผู้หวังประโยชน์ในชาตินี้ หรือภพนี้ พึงบำเพ็ญ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์

สัมปรายิกัตถประโยชน์ ๔
๑.      สัทธาสัมปทา  (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒.    สีลสัมปทา  (ถึงพร้อมด้วยศีล)
๓.     จาคสัมปทา  (ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน)
๔.     ปัญญาสัมปทา  (ถึงพร้อมด้วยปัญญา)
อธิบาย  ผู้หวังประโยชน์ในชาติหน้า หรือภพหน้า พึงบำเพ็ญ สัมปรายิกัตถประโยชน์

มิตรเทียม ๔
๑.      คนปอกลอก
๒.    คนดีแต่พูด
๓.     คนหัวประจบ
๔.     คนชักชวนในทางฉิบหาย
ลักษณะคนปอกลอก
๑.      คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
๒.    เสียให้น้อย คิดเอาให้ได้มาก
๓.     เมื่อมีภัยแก่ตัว จึงรับทำกิจของเพื่อน
๔.     คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
ลักษณะคนดีแต่พูด
๑.      เก็บเอาของล่วงแล้ว มาปราศรัย
๒.    อ้างของที่ยังไม่มี มาปราศรัย
๓.     สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
๔.     ออกปากพึ่งมิได้
ลักษณะคนหัวประจบ
๑.      จะทำชั่วก็คล้อยตาม
๒.    จะทำดีก็คล้อยตาม
๓.     ต่อหน้าว่าสรรเสริญ
๔.     ลับหลังตั้งนินทา
ลักษณะคนชักชวนในทางฉิบหาย
๑.      ชักชวนดื่มน้ำเมา
๒.    ชักชวนเที่ยวกลางคืน
๓.     ชักชวนมัวเมาในการเล่น
๔.     ชักชวนเล่นการพนัน
อธิบาย  มิตรเทียม หรือ มิตรปฏิรูป มีแต่จะนำความทุกข์ ความฉิบหาย มาสู่เพื่อน พึงหลีกเลี่ยงอย่าคบ

มิตรแท้ ๔
๑.      มิตรมีอุปการะ
๒.    มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓.     มิตรแนะนำประโยชน์
๔.     มิตรมีความรักใคร่
ลักษณะมิตรมีอุปการะ
๑.      ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
๒.    ป้องกันทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
๓.     เมื่อมีภัย เอาเป็นที่พำนักได้
๔.     เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ให้เกิดกว่าที่ออกปาก
ลักษณะมิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๑.      ขยายความลับของตนแก่เพื่อน
๒.    ปกปิดความลับของเพื่อน ไม่ให้แพร่งพราย
๓.     ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
๔.     แม้ชีวิตก็สละแทนได้
ลักษณะมิตรแนะนำประโยชน์
๑.      ห้ามไม่ให้ทำชั่ว
๒.    แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
๓.     ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๔.     บอกทางสวรรค์ให้
ลักษณะมิตรมีความรักใคร่
๑.      ทุกข์ ทุกข์ด้วย
๒.    สุข สุขด้วย
๓.     โต้เถียง คนที่พูดติเตียนเพื่อน
๔.     รับรอง คนที่พูดสรรเสริญเพื่อน
อธิบาย  มิตรแท้ มีแต่จะนำความสุข ความเจริญ มาสู่เพื่อน ควรพิจารณาคบหา

สังคหวัตถุ ๔
๑.      ทาน  (ให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน)
๒.    ปิยวาจา  (เจรจาด้วยถ้อยคำที่อ่อนหวาน)
๓.     อัตถจริยา  (ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น)
๔.     สมานัตตตา  (ความเป็นผู้มีตนเสมอ ไม่ถือตัว)
อธิบาย  หลักแห่งการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน เรียกว่า สังคหวัตถุ เป็นธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่นไว้ได้

สุขของคฤหัสถ์ ๔
๑.      สุขเกิดจากความมีทรัพย์
๒.    สุขเกิดจากการจ่ายทรัพย์บริโภค
๓.     สุขเกิดจากความไม่ต้องเป็นหนี้
๔.     สุขเกิดจากการประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
อธิบาย  ความสุขกาย สบายใจ ของคฤหัสถ์ หรือฆราวาส เรียกว่า สุขของคฤหัสถ์

ความปรารถนาที่สมหมายได้โดยยาก ๔
๑.      ขอสมบัติจงมีแก่เราโดยทางที่ชอบ
๒.    ขอยศจงมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง
๓.     ขอเราจงรักษาอายุให้ยืนนาน
๔.     เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปเกิดในสวรรค์
อธิบาย  ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก คือ ลาภ ยศ อายุ สวรรค์ แต่อาจสมหมายได้ หากได้บำเพ็ญสัมปรายิกัตถประโยชน์

ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้เพราะสถาน ๔
๑.      ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
๒.    ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า
๓.     ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
๔.     ตั้งสตรี หรือบุรุษ ทุศีล ให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน
อธิบาย  ตระกูลอันมั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติอาจต้องถึงกาลวิบัติ ด้วยสถาน ๔ นี้

ธรรมของฆราวาส หรือ ฆราวาสธรรม ๔
๑.      สัจจะ  (ซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน)
๒.    ทมะ  (รู้จักข่มจิตของตน ไม่เอาอารมณ์เป็นใหญ่)
๓.     ขันติ  (อดทนอดกลั้น)
๔.     จาคะ  (สละให้ปันสิ่งของของตน แก่ผู้ที่ควรให้ปัน)
อธิบาย  ธรรมสำหรับฆราวาสผู้ครองเรือน เรียกว่า ธรรมของฆราวาส หรือ ฆราวาสธรรม

ประโยชน์เกิดแต่การถือโภคทรัพย์ ๕
๑.      เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข
๒.    เลี้ยงเพื่อนฝูง ให้เป็นสุข
๓.     บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่าง ๆ
๔.     ทำพลี ๕ อย่าง คือ
๔.๑ ญาติพลี  (สงเคราะห์ญาติ)
๔.๒ อติถิพลี  (ต้อนรับแขก)
๔.๓ ปุพพเปตพลี  (ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย)
๔.๔ ราชพลี  (ถวายหลวง มีเสียภาษีอากร เป็นต้น)
๔.๕ เทวตาพลี  (ทำบุญอุทิศให้เทวดา)
        ๕. บริจาคทานแก่สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ
อธิบาย  โภคทรัพย์ควรใช้ให้เกิดประโยชน์ใน ๕ สถานนี้

ศีล ๕
๑.      ปาณาติปาตา เวรมณี  (เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง)
๒.    อทินนาทานา เวรมณี  (เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ฯ)
๓.     กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี  (เว้นจากประพฤติผิดในกาม)
๔.     มุสาวาทา เวรมณี  (เว้นจากพูดเท็จ)
๕.     สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี  (เว้นจากดื่มสุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)
อธิบาย  เบญจศีล หรือ ศีล ๕ ได้แก่ ศีลของคฤหัสถ์ เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย

มิจฉาวณิชชา ๕
๑.      ค้าขายเครื่องประหาร
๒.    ค้าขายมนุษย์
๓.     ค้าขายสัตว์เป็น สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
๔.     ค้าขายน้ำเมา
๕.     ค้าขายยาพิษ
อธิบาย  การค้าขายอันเป็นมิจฉาชีพของอุบาสก คือ ผิดวิธีการเลี้ยงชีวิต เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทรงสรรเสริญ

สมบัติของอุบาสก ๕
๑.      ประกอบด้วยศรัทธา
๒.    มีศีลบริสุทธิ์
๓.     ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔.     ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา (เขตบุญ คือ พระอริยบุคคลทั้ง ๘ ได้แก่ ๑.โสดาปัตติมรรค ๒.สกทาคามิมรรค ๓.อนาคามิมรรค ๔.อรหัตตมรรค ๕.พระโสดาบัน ๖.พระสกทาคามี ๗.พระอนาคามี ๘.พระอรหันต์)
๕.     ทำบุญแต่ในพระพุทธศาสนา (มิได้ทรงห้ามทำบุญในศาสนาอื่น แต่ทรงให้ทำบุญในพุทธศาสนาก่อน)
อธิบาย  คุณสมบัติของอุบาสก อุบาสิกา ผู้นับถือพระพุทธศาสนา เรียกว่า สมบัติของอุบาสก

ทิศ ๖
๑.      ปุรัตถิมทิส  (ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา)
๒.    ทักขิณทิส  (ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์)
๓.     ปัจฉิมทิส  (ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา)
๔.     อุตตรทิส  (ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตร)
๕.     เหฏฐิมทิส  (ทิศเบื้องต่ำ ได้แก่ บ่าวไพร่)
๖.      อุปริมทิส  (ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์)
อธิบาย  ขณะทรงบำเพ็ญพุทธกิจในแคว้นมคธ เช้าวันหนึ่งทรงเห็นมาณพผู้หนึ่งนาม สิงคาละ กำลังประนมมือนมัสการทิศทั้ง ๖ ตามคำสั่งเสียของบิดา จึงทรงตรัสว่าในพระพุทธศาสนาให้ไหว้ทิศ ๖ ด้วยการปฏิบัติตามที่ทรงแสดงไว้

(วิธีไหว้ทิศ ๖)
ทิศเบื้องหน้า  (มารดาบิดา)  กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
๑.      ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒.    ช่วยทำกิจของท่าน
๓.     ดำรงวงศ์สกุล
๔.     ประพฤติตนให้เป็นผู้ควรรับทรัพย์มรดก
๕.     เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน
มารดาบิดา พึงอนุเคราะห์กุลบุตร ๕
๑.      ห้ามไม่ให้ทำชั่ว
๒.    ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓.     ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔.     หาคู่ครองที่สมควรให้
๕.     มอบทรัพย์ให้ในสมัย
ทิศเบื้องขวา  (ครูอาจารย์)  ศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕
๑.      ด้วยลุกขึ้นยืนรับ
๒.    ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้
๓.     ด้วยเชื่อฟัง
๔.     ด้วยอุปัฏฐาก
๕.     ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
ครูอาจารย์ พึงอนุเคราะห์ศิษย์ ๕
๑.      แนะนำดี
๒.    ให้เรียนดี
๓.     บอกศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง
๔.     ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง
๕.     ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย (จะไปทางไหนก็ปลอดภัย ไม่อดอยาก)
ทิศเบื้องหลัง  (ภรรยา)  สามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
๑.      ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา
๒.    ด้วยไม่ดูหมิ่น
๓.     ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ
๔.     ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้
๕.     ด้วยให้เครื่องแต่งตัว
ภรรยา พึงอนุเคราะห์สามี ๕
๑.      จัดการงานดี
๒.    สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี
๓.     ไม่ประพฤติล่วงใจสามี
๔.     รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
๕.     ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง
ทิศเบื้องซ้าย  (มิตรสหาย)  กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
๑.      ด้วยให้ปัน
๒.    ด้วยเจรจาถ้อยคำไพเราะ
๓.     ด้วยประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
๔.     ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ (ไม่ถือตัว)
๕.     ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง (ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน)
มิตร พึงอนุเคราะห์กุลบุตร ๕
๑.      รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
๒.    รักษาทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
๓.     เมื่อมีภัย เอาเป็นที่พำนักได้
๔.     ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
๕.     นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร
ทิศเบื้องต่ำ  (บ่าวไพร่)  นายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
๑.      ด้วยจัดการงาน ให้ทำตามสมควรแก่กำลัง
๒.    ด้วยให้อาหาร และรางวัล
๓.     ด้วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้
๔.     ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน (ได้อะไรพิเศษมา ก็แบ่งปันให้)
๕.     ด้วยปล่อยในสมัย  (นอกจากวันหยุดธรรมดาแล้ว ควรให้หยุดเป็นพิเศษบ้าง)
บ่าวไพร่ พึงอนุเคราะห์นาย ๕
๑.      ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย
๒.    เลิกทำงานทีหลังนาย
๓.     ถือเอาแต่สิ่งของที่นายให้
๔.     ทำการงานให้ดีขึ้น
๕.     นำคุณของนายไปสรรเสริญในที่นั้น ๆ
ทิศเบื้องบน  (สมณพราหมณ์)  กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
๑.      ด้วยกายกรรม คือ ทำอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา
๒.    ด้วยวจีกรรม คือ พูดอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา
๓.     ด้วยมโนกรรม คือ คิดอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา
๔.     ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือ มิได้ห้ามให้เข้าบ้านเรือน
๕.     ด้วยให้อามิสทาน
สมณพราหมณ์ พึงอนุเคราะห์กุลบุตร ๖
๑.      ห้ามไม่ให้ทำชั่ว
๒.    ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓.     อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม
๔.     ให้ได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง
๕.     ทำสิ่งที่เคยได้ฟังแล้ว ให้แจ่มแจ้ง
๖.      บอกทางสวรรค์ให้
อธิบาย  การนมัสการ(ไหว้) ทิศทั้ง ๖ เพื่อความเป็นสิริมงคล ก็ด้วยการปฏิบัติดังที่ทรงแสดงไว้

อบายมุข ๖
๑.      ดื่มน้ำเมา
๒.    เที่ยวกลางคืน
๓.     เที่ยวดูการเล่น
๔.     เล่นการพนัน
๕.     คบคนชั่วเป็นมิตร
๖.      เกียจคร้านทำการงาน
อธิบาย  ปากทางแห่งความฉิบหาย หรือเหตุที่ทำให้โภคทรัพย์ฉิบหาย โดยย่อมี ๔ โดยพิสดารมี ๖

โทษของการดื่มน้ำเมา ๖
๑.      เสียทรัพย์
๒.    ก่อการทะเลาะวิวาท
๓.     เกิดโรค
๔.     ถูกติเตียน
๕.     ไม่รู้จักอาย
๖.      ทอนกำลังปัญญา
โทษของการเที่ยวกลางคืน ๖
๑.      ชื่อว่าไม่รักษาตัว
๒.    ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย
๓.     ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
๔.     เป็นที่ระแวงของคนอื่น
๕.     มักถูกใส่ความ
๖.      ได้รับความลำบากมาก
โทษของการเที่ยวดูการเล่น ๖
๑.      รำที่ไหน  ไปที่นั่น
๒.    ขับร้องที่ไหน  ไปที่นั่น
๓.     ดีดสีตีเป่าที่ไหน  ไปที่นั่น
๔.     เสภาที่ไหน  ไปที่นั่น
๕.     เพลงที่ไหน  ไปที่นั่น
๖.      เถิดเทิงที่ไหน  ไปที่นั่น
โทษของการเล่นการพนัน ๖
๑.      เมื่อชนะ ย่อมก่อเวร
๒.    เมื่อแพ้ ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
๓.     ทรัพย์ย่อมฉิบหาย
๔.     ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ
๕.     เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน
๖.      ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย
โทษของการคบคนชั่วเป็นมิตร ๖
๑.      นำให้เป็นนักเลงเล่นการพนัน
๒.    นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
๓.     นำให้เป็นนักเลงเหล้า
๔.     นำให้ลวงเขาด้วยของปลอม
๕.     นำให้ลวงเขาซึ่งหน้า
๖.      นำให้เป็นนักเลงหัวไม้
โทษของความเกียจคร้านทำการงาน ๖
๑.      มักอ้างว่าหนาวนัก  แล้วไม่ทำงาน
๒.    มักอ้างว่าร้อนนัก  แล้วไม่ทำงาน
๓.     มักอ้างว่าเวลาเย็นแล้ว  แล้วไม่ทำงาน
๔.     มักอ้างว่ายังเช้าอยู่  แล้วไม่ทำงาน
๕.     มักอ้างว่าหิวนัก  แล้วไม่ทำงาน
๖.      มักอ้างว่ากระหายนัก  แล้วไม่ทำงาน
                                                                                                                    

                                                              ----------- จบวิชาธรรม และคิหิปฏิบัติ -----------
วิชาพุทธประวัติ (และศาสนพิธี)
บทนิเทศ
การศึกษาพุทธประวัติ
คติในการศึกษา
๑.      ทางตำนาน ให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของพระพุทธเจ้า
๒.    ทางอภินิหาร ให้ได้เห็นวิธีการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าตามอุปนิสัยของบุคคล และทราบถึงความอัศจรรย์แห่งพุทธานุภาพ ให้เกิดความเลื่อมใสในการปฏิบัติธรรมยิ่งขึ้น
๓.     ทางธรรมปฏิบัติ ให้ทราบข้อปฏิบัติ และเหตุผลที่เป็นจริง โดยละเอียด ถ่องแท้

การศึกษาพุทธประวัติ มีประโยชน์อย่างไร
        ให้ได้ประโยชน์คือ เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ และน้อมนำไปสู่การปฏิบัติธรรม เพื่อยังประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น

พุทธประวัติสำคัญอย่างไรจึงต้องเรียนรู้
๑.      ในด้านการศึกษา  ได้ทราบความเป็นมาของพระพุทธเจ้า เฉกเช่นความเป็นมาของชาติตน  
๒.    ในด้านการปฏิบัติ  ให้ทราบแนวทางการดำเนินชีวิตตามพุทธจริยา เป็นปฏิปทานำความสุขความเจริญมาสู่ผู้ปฏิบัติ

วิภาคที่ ๑  ปุริมกาล
ปริเฉทที่ ๑  ชมพูทวีป และประชาชน
แผ่นดินอินเดีย
        เมื่อหลายพันปีก่อน ดินแดนซึ่งเป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน เดิมเรียกว่า ชมพูทวีป โดยประชาชนในดินแดนแถบนี้ แต่เดิมเป็นชนผิวดำเร่ร่อน อาศัยการล่าสัตว์จับปลาเป็นอาหาร ใช้อาวุธที่ทำด้วยหินมีคม ได้แก่ พวกโกลาเรียน (KOLA RIANS) และพวกตูเรเนียน (TURANIANS)  และในยุคต่อมาก็มีพวกดราวิเดียน (DRAVIDIANS) หรือพวกมิลักขะ ซึ่งมีความเจริญกว่าเข้ามาแทนที่  จนต่อมาได้มีพวกอารยัน หรืออริยกะ ซึ่งเจริญกว่าพวกมิลักขะ และมีรูปแบบการใช้อาวุธที่เหนือกว่า เข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ แล้วจับพวกมิลักขะ เป็นเชลย หรือทัสยุ(ทาส)

การแบ่งเขต
        หลังจากพวกอริยกะเข้ามาครอบครองได้แล้ว ดินแดนชมพูทวีปก็ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
๑.       มัชฌิมชนบท (ประเทศแถบภาคกลาง)
๒.     ปัจจันตชนบท หรือปัจจันตประเทศ (ประเทศแถบชายแดน)
โดยแบ่งออกเป็น ๑๖ รัฐ หรือ ๑๖ แคว้น

อาณาเขตของมัชฌิมชนบท
๑.       ทิศบูรพา (ตะวันออก) ภายในแต่เมืองเบงคอลเข้ามา
๒.     ทิศทักษิณ (ใต้) ภายในแต่เมืองเดกกันเข้ามา
๓.      ทิศปัจจิม (ตะวันตก) ภายในแต่เมืองบอมเบย์(มุมไบ)เข้ามา
๔.      ทิศอุดร (เหนือ) ภายในแต่ประเทศเนปาลเข้ามา

ระบอบการปกครอง
        ปกครองแตกต่างกันไป บางอาณาจักรปกครองแบบมหาราช บางแห่งเป็นเพียงราชาบ้าง บางแห่งเป็นแบบทรงอำนาจสิทธิ์ขาด(สมบูรณาญาสิทธิราชย์) บางแห่งปกครองแบบสามัคคีธรรม

การแบ่งชั้นวรรณะ
        ประชาชนในสมัยนั้นถูกแบ่งเป็น ๔ วรรณะหลัก ๆ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

หน้าที่ หรืออาชีพ
๑.       วรรณะกษัตริย์ เป็นพวกชนชั้นสูง ทำหน้าที่ปกครอง สู้รบกับข้าศึกทั้งในและนอกอาณาจักร ได้แก่ พวกเจ้า
๒.     วรรณะพราหมณ์ เป็นพวกชนชั้นสูงเช่นกัน ทำหน้าที่สั่งสอน ประกอบพิธีกรรม ทั้งที่เป็นนักบวช และคฤหัสถ์
๓.      วรรณะแพศย์ เป็นชนชั้นสามัญ ทำหน้าที่กสิกรรม ทำนาค้าขาย ได้แก่ พลเมืองทั่วไป
๔.      วรรณะศูทร เป็นชนชั้นต่ำ ทำหน้าที่กรรมกร ใช้แรงงาน ได้แก่ พวกทัสยุ(ทาส) หรือพวกมิลักขะเดิมนั่นเอง
ทั้ง ๔ วรรณะนี้ จะสมสู่แต่งงานต่างวรรณะกันไม่ได้ หากสมสู่ต่างวรรณะกัน บุตรที่เกิดมาจะถูกจัดเป็นอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า จัณฑาล จัดเป็นพวกเลวทราม เป็นที่รังเกียจของวรรณะทั้ง ๔

การศึกษา
        วรรณะ ๓ ชั้นแรกเท่านั้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ และแพศย์ ที่ได้รับการศึกษา ส่วนพวกศูทร ไม่ได้รับการศึกษาใด ๆ เลย โดยการศึกษาจะแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ ฝ่ายสามัญศึกษา(๑) จะเรียนวิชาอักษรศาสตร์ เมื่อจบแล้วจะถูกส่งไปเรียนวิชาฝ่ายวิสามัญศึกษา (๒) คือ วิชาเฉพาะตามแต่หน้าที่ในวรรณะของตน เช่น พวกกษัตริย์เรียนวิชายุทธวิธี การฝึกฝนจิตใจให้กล้าแกร่ง พวกพราหมณ์เรียนวิชาไตรเพท(พระเวททั้ง ๓ หรือคัมภีร์ทั้ง ๓) และเพทางค์(คู่มือประกอบการศึกษาพระเวททั้ง ๓)

ทิฐิ ความเห็น
        ประชาชนในสมัยนั้น ให้ความสนใจในวิชาธรรมกันมาก และมีความเห็นเรื่องการเกิด การตาย ต่างกันดังนี้
๑.   ถือว่าตายแล้วเกิด
๒.  ถือว่าตายแล้วสูญ
พวกที่เห็นว่าตายแล้วเกิด ก็แตกออกเป็นอีก ๒ อย่าง คือ
๑.   เกิดเป็นอะไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้น เช่น ชาตินี้เป็นคน ชาติหน้าก็เป็นคนอีก
๒.  เกิดจุติแปรผัน เช่น ชาตินี้เป็นคน ชาติหน้าอาจเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ส่วนพวกที่เห็นว่า ตายแล้วสูญ ก็แตกออกเป็น ๒ พวก คือ
๑.   สูญโดยประการทั้งปวง
๒.  สูญเพียงบางสิ่ง
และสำหรับพวกที่เห็นว่า ตายแล้วสูญ นี้ มีความเห็นเรื่องสุข ทุกข์ ต่างกัน คือ
๑.   สุข ทุกข์ เกิดได้เอง ไม่มีเหตุปัจจัย
๒.  สุข ทุกข์ มีเหตุมีปัจจัย
และพวกที่เห็นว่า สุข ทุกข์ มีเหตุปัจจัย ก็แตกออกเป็นอีก ๒ อย่าง คือ
๑.       มีเหตุปัจจัยภายนอก เช่น เทวดาดลบันดาล
๒.     มีเหตุปัจจัยภายใน เช่น ตัวกรรม
           การที่ทิฐิ ความเห็น ของผู้คนแตกแยกแบ่งออกไปมากมายเช่นนี้ เกิดจากมีคณาจารย์เจ้าลัทธิต่าง ๆ มากมาย พวกที่เห็นว่าตายแล้วเกิด ก็มุ่งไปเกิดในสวรรค์ พวกเห็นว่าตายแล้วสูญ ก็มุ่งให้อยู่รอดเฉพาะชาตินี้ พวกเห็นว่าสุข ทุกข์ ไม่มีเหตุปัจจัย ก็ไม่ทำการงานอะไร คอยแต่เสี่ยงโชค พวกเห็นว่าสุข ทุกข์ มีเหตุปัจจัยภายนอก เช่น เทวดา ก็เอาแต่บวงสรวงเทวดาให้ตนมีความสุข พวกเห็นว่าสุข ทุกข์ มีเหตุปัจจัยภายใน เช่น กรรม ก็มุ่งทำแต่กรรมที่เป็นเหตุแห่งสุข  อนึ่งในสมัยนั้น การสั่งสอนธรรม ถือเป็นเรื่องที่มีเกียรติ์ และได้รับการยกย่องอย่างสูง จึงปรากฏว่ามีผู้ยอมสละราชสมบัติออกประพฤติพรต บำเพ็ญเพียร เพื่อสั่งสอนธรรม กันอย่างมากมาย
ลัทธิ หรือศาสนาพื้นเมือง
        ศาสนาดั้งเดิม หรือศาสนาพื้นเมือง ก็คือ ศาสนาพราหมณ์ นั่นเอง ซึ่งมีความเชื่อว่า โลกธาตุเกิดจากเทวดาสร้าง และธาตุต่าง ๆ เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม มีเทวดาประจำอยู่ จึงมีประเพณีเซ่นสรวงเทวดา หรือประพฤติตบะด้วยการทรมานตน หรือวิธีอัตตกิลมถานุโยค

ปริเฉทที่ ๒  สักกชนบท และศากยวงศ์
สักกชนบท
        สักกชนบท เดิมเป็นดงไม้สักกะ อยู่ตรงข้ามภูเขาหิมพานต์ ตอนเหนือของชมพูทวีป ซึ่งเป็นแคว้น หรือรัฐ ๆ หนึ่งในชมพูทวีป แต่คงเป็นเพียงรัฐเล็ก ๆ เท่านั้น เพราะไม่ปรากฏชื่อเป็นหนึ่งใน ๑๖ รัฐใหญ่ตามบาลีอุโบสถสูตรแต่อย่างใด

ศากยวงศ์
        มีตำนานเล่าว่า เดิมทีในสักกชนบท พระเจ้าโอกกากราช ครองราชย์อยู่ ณ นครแห่งหนึ่ง โดยมีพระโอรส ๔ พระธิดา ๕  รวม ๙ พระองค์ หลังจากพระมเหสีองค์เดิมสวรรคต จึงทรงได้มเหสีองค์ใหม่ และประสูติพระโอรสอีก ๑ องค์ พระนางฯ จึงทูลขอราชสมบัติให้พระโอรสของพระนางฯ พระองค์จึงรับสั่งให้พระโอรส และพระธิดาที่ประสูติจากมเหสีองค์เดิม ออกไปตั้งพระนครใหม่ ในบริเวณดงไม้สักกะ ตรงข้ามเขาหิมพานต์ ได้นามพระนครว่า กบิลพัสดุ์ ซึ่งตั้งชื่อตามที่ตั้งอันเป็นเขตที่อยู่ของกบิลดาบส โดยพระโอรส ๔ องค์ ได้สมรสกับพระธิดาอีก ๔ องค์นั้น (สมสู่กันเอง) เหลือเพียงพระธิดาอีก ๑ องค์ (ซึ่งได้เป็นมเหสีของกษัตริย์กรุงเทวทหะ) และเกิดราชวงศ์ใหม่ ชื่อว่า ศากยวงศ์ โดยสันนิษฐานว่าที่ได้ชื่อนี้เพราะ
๑.       เพราะตั้งชื่อตามอาณาจักร ซึ่งก็คือ สักกชนบท     
๒.     เพราะความสามารถของพระโอรส และพระธิดารวม ๘ พระองค์นั้น ซึ่งพระบิดา(พระเจ้าโอกกากราช) ตรัสชมว่า เป็นผู้อาจ ซึ่งแปลตามภาษาบาลีว่า สักกะ และภาษาสันสกฤตว่า ศากยะ

สักกชนบทแบ่งเป็นหลายพระนคร
        สักกชนบทแบ่งเป็นหลายพระนครด้วยกัน แต่ที่ปรากฏชัดมีเพียง ๓ พระนคร คือ
๑.       นครเดิมของพระเจ้าโอกกากราช
๒.     นครกบิลพัสดุ์
๓.      นครเทวทหะ

ระบอบการปกครอง

        สันนิษฐานว่าใช้ระบอบสามัคคีธรรม คือไม่มีกษัตริย์องค์ใดมีอำนาจสิทธิ์ขาด เทียบได้กับแคว้นวัชชี และมัลละในสมัยเดียวกัน